วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค

ทดสอบปลายภาค
ให้นักศึกษาอ่านบทความต่อไปนี้ วิเคราะห์แสดงความคิดเห็น
1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
 ตอบ  แท็บเล็ตเป็นเครื่องมือที่มีความเป็นมากยาวนาน สันนิษฐานและกล่าวกันว่าแท็บเล็ตในยุคประวัติศาสตร์ได้เริ่มต้นจากการที่มนุษย์ได้คิดค้นเครื่องมือสาหรับการพิมพ์หรือบันทึกข้อมูลจากแผ่นเยื่อไม้ที่เคลือบด้วยขี้ผึง ( Wax ) บนแผ่นไม้ในลักษณะของการเคลือบประกบกันทั้ง 2 ด้าน ใช้ประโยชน์ในการบันทึกอักขระข้อมูล หรือการพิมพ์ภาพ ซึ่งปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนจากบันทึกของซิเซโร ( Cicero ) ชาวโรมัน ( Roman ) เกี่ยวกับลักษณะของการใช้เทคนิคดังกล่าวนี้จะมีชื่อเรียกว่า “Cerae” ที่ใช้ในการพิมพ์ภาพบนฝาผนังที่วินโดแลนดา ( Vindolanda ) บนฝานังที่ชื่อผนังฮาเดรียน (อ้างอิงจาก http://www.addkutec3.com)ในแท็บเล็ตปัจจุบันเป็นเทคโนโลยีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่คุณสามารถพกติดตัวได้โดยวัตถุประสงค์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ใช้เพื่อทดแทนสมุดหรือกระดาษ "แท็บเล็ต - Tablet" ในความหมายแท้จริงแล้วก็คือแผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียน (อาจจะเป็นกระดาษ, ดิน, ขี้ผื้ง, ไม้, หินชนวน) และมีการใช้กันมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ซึ่งมีหลายบริษัทได้ให้คำนิยามที่แตกต่างกันไป หลักๆแล้วก็มี 2 ความหมายด้วยกันคือ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet Personal Computer)" และ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet" ในปัจจุบัน แท็บเล็ต ถูกพัฒนาให้มีความสามารถใกล้เคียงเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คเลยทีเดียว เครื่องแท็บเล็ตพีซี มีขนาดไม่ใหญ่มากสามารถถือได้ด้วยมือเดียวและน้ำหนักเบากว่าเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค(อ้างอิงจาก กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ,TabletD.com)
ประโยชน์และความสำคัญของแท็บเล็ต
1.  สนองต่อความเป็นเอกัตบุคคล คือสนองความต้องการของตัวบุคคล จะมีความต้องการในการติดตามช่วยเหลือเพื่อให้ผู้เรียนหรือผู้ใช้บรรลุผลและมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ตามที่เขาต้องการ
2.  เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย เป็นการเรียนรู้ที่กระตือรือร้นจากการใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศและการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันบางครั้งต้องอาศัยการจาลองสถานการณ์เพื่อการเรียนรู้และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งสถานการณ์ต่างๆเหล่านี้สื่อแท็บเล็ตจะมีศักยภาพสูงในการช่วยผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ได้
3. เกิดการแบ่งปันประสบการณ์ คือช่วยให้นักเรียนเกิดการแบ่งปันประสบการณ์ความรู้ซึ่งกันและกันจากช่องทางการศึกษาการเรียนรู้หลายช่องทางอีกทั้งยังเป็นการประยุกต์การเรียนรู้ร่วมกันของบุคลในการสื่อสารหรือสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพ
4.มีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่ชัดเจนและยือหยุ่น ในการเรียนรู้จากแท็บเล็ตจะมีการออกแบบเนื้อหาหรือหน่วยการเรียนรู้ที่เสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเกิดพัฒนาการทางสติปัญญา อารมณ์ความรู้สึก หน่วยการเรียนรู้นั้นก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานและหลักการที่สามารถยือหยุ่นได้
5.  ให้การสะท้อนผลต่อผู้เรียน/ผู้ใช้ได้ดี สามารถช่วยสะท้อนผลความก้าวหน้าทางการเรียนรู้จากเนื้อหาที่เรียนซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับปรุงตนเองในการเรียนรู้เนื้อหาสาระ และสามารถประเมินและประยุกต์เนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
6. สนองต่อคุณภาพด้านข้อมูลสาระสนเทศคือสื่อดังกล่าวนี้มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูงต่อผู้เรียนหรือผู้ใช้ในการเข้าถึงเนื้อหาสาระของข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณภาพ ซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพจะเป็นคาตอบที่ชัดเจนถูกต้องในการกาหนดมโนทัศน์ที่ดี(อ้างอิงไพฑูรย์ ศรีฟ้า ( 2554 ) เปิดโลก Tablet สู่ทิศทางการวิจัยด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ,

จากที่ได้กล่าวไปนั้นผู้คนจำนวนมากรวมทั้งนักศึกษาและตัวดิฉันคิดว่าเทคโนโลยีมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ที่นับว่าเป็นสื่อการเรียนรู้ที่มาแรงในสังคมยุคออนไลน์ซึ่งเป็นสื่อที่ถูกนำมาใช้ในสังคมต่างๆ เช่น ใช้ในการประกอบอาชีพรวมไปถึงการศึกษาและการเรียนรู้ในทุกระดับเป็นเทคโนโลยีที่มีความทันสมัย สะดวกและยังมีประสิทธภาพสูงในการใช้งาน ซึ่งในขณะนี้ประเทศไทยเองก็ได้นำเข้ามาให้นักเรียนไทยได้เปลี่ยนความคิด มุมมอง เปลี่ยนทัศนคติให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นยิ่งโดยเฉพราะครูไทย คือ ต้องต้องแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่และจัดโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีอย่างเพียงพอ และพัฒนาบุคลากรในการใช้แท็บเล็ตอีกทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนและผู้สอนมีความกระตือรือร้นและมีเวลาเพียงพอที่จะได้ทดลองและสร้างนวัตกรรมการใช้งานแท็บเล็ต  เพื่อให้ครูและนักเรียนเกิดความคุ้นเคย และมีทักษะ ในการใช้แท็บเล็ตอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้นักเรียนนักศึกษาก้าวทันเทคโนโลยีไปพร้อมๆกับการเรียนรู้ที่ไร้พรมแดนและไม่มีขีดจำกัด
          อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะเปลี่ยนไปซึ่งแน่นอนว่าเราเปลี่ยนตามสิ่งเหล่านั้นไปได้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ทันสมัยขึ้น และสิ่งต่างๆที่ดีตาม แต่ก็ต้องใช้แท็บเล็ตให้เกิดประโยชน์ในทางการศึกษาให้มากที่สุดอย่าใช้ในทางที่ไม่ดีและไม่ถูกต้อง มีประโยชน์ก็ต้องมีโทษตามมา ซึ่งมันก็อยู่ที่ตัวของเราว่าจะเป็นผู้เลือกและกำหนดอย่างไร ควรใช้แท็บเล็ตให้ถูกต้องตามความเหมาะสมและเกิดประโยชน์อย่างสูง
2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
ตอบ อาเซียน คือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) โดยการจัดตั้งในครั้งแรกมีจุดประสงค์เพื่อ ส่งเสริมและร่วมมือในเรื่องสันติภาพ,ความมั่นคง, เศรษฐกิจ, องค์ความรู้, สังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก(อ้างอิง  http://ประชาคมอาเซียน.net)  ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ อินโดเนเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียตนาม ลาว พม่า  กัพูชา (อ้างอิง http://ประชาคมอาเซียน.net)
          อาเซียน รวมตัวกันเพื่อ ความร่วมมือกันทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม และได้มีการพัฒนาการเรื่อยมา จนถึงขณะนี้ที่เรามีกฎบัตรอาเซียน (ธรรมนูญ อาเซียน หรือ ASEAN Charter) ซึ่งเป็นเสมือนแนวทางการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้วย 3 สิ่งหลักๆ ดังนี้
1.การเมืองความมั่นคง
2.เศรษฐกิจ (AEC)
3.สังคมและวัฒนธรรม
(อ้างอิง http://www.km.mut.ac.th )
        จากการที่ได้อ่านและศึกษาเรื่องสมาคมอาเซียนมีความเป็นเห็นว่าเมื่อในแต่ละประเทศเข้ากลุ่มอาเซียนแล้วนอกจากเรื่องที่กล่าวมาข้างต้นที่สามารถสร้างประโยชน์ซึ่งกันและกันแล้วยังรวมทั้งการศึกษาด้วย เพราะการศึกษาในยุคปัจจุบันมีความสำคัญเป็นอย่างมากทุกๆประเทศจะเดินต่อการศึกษาด้วยความสามัคคีและเดินไปพร้อมกันใน 10 ประเทศ สามารถไปเรียนในสถาบันการศึกษาใดๆก็ได้ที่ตนเองคิดว่าดี ตรงกับความสนใจ และค่าใช้จ่ายไม่สูงเกินไปรวมทั้งประเทศไทยเองก็ด้วยไม่ว่าจะเป็นนักเรียนเองที่ต้องเตรียมตัวในการศึกษาเข้าสู่สังคมอาเซียนที่ต้องพัฒนาด้านศักยภาพ พัฒนาเด็กความสามารถพิเศษ และที่สำคัญนักศึกษา นักเรียนไทยนั้นต้องพัฒนาทางด้านภาษาซึ่งไม่ได้หมายถึงการพูดคุยเท่านั้นแต่รวมทั้งในเรื่องของการฟัง พูด อ่าน เขียน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นทักษะที่ใช้ในการเรียนและการสื่อสารทั้งนั้น เตรียมตัวในเรื่องของความพร้อมพร้อมทั้งร่างกายและหัวใจ คือต้องมีหัวใจแห่งการให้ มีจิตอาสา จิตในการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ไม่หยุดการเรียนรู้ โลกต้องหมุนด้วยความรู้ แต่ให้เราอยู่ด้วยความรัก สำคัญนักเรียนจะต้องมีเป้าหมายชีวิต มีความฝัน เขียนฝันและที่สำคัญนั้นก็ในเรื่องของทักษะชีวิต การทำงานอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ การทำงานเป็นทีม  มีความภูมิใจในความเป็นไทย  ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ใช้ชีวิตอย่างมีสติและปรับตัวในเรื่องของสังคม วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของในแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน ส่วนครูเองที่มีการพัฒนาและเตรียมตัวคล้ายกับนักเรียนที่สำคัญเรื่องภาษาทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน ต้องมีความเก่ง ท่องแท้สามารถสอนและถ่ายทอดให้นักเรียนได้ ครูไทยต้องฝึกจะสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ใหม่ๆ คิดพัฒนาสื่อการสอนใหม่ๆ พัฒนาศักยภาพของนักเรียนตลอดจนการอบรมสังสอนให้เด็กเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกร่วมในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมไทย  ประชาคมอาเซียน  และสังคมโลก
3. อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
          ตอบ จากการอ่านบทความของผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครูยกตัวอย่างเช่น ครูในปัจจุบันนอกจากการมีความรู้อย่างท่องแท้สอนเด็กให้เป็นผู้ที่มีความรู้และเป็นคนดีแล้ว ครูต้องเป็นผู้ที่รอบรู้อ่านหนังสือที่ดีเพื่อใช้ในการเติมเต็มความรู้ประยุกต์สอนนักเรียน ต้องเป็นผู้ที่ทันสมัยทันต่อเทคโนโลยี รู้ประวัติของเด็ก ฝึกเด็กเป็นผู้นำกล้าแสดงออก ฝึกให้เด็กทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีม และต้องมีบุคคลภายนอกมาสนับสนุนรับฟัง อีกทั้งต้องเป็นผู้ที่ให้เด็กมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดจึงจะเป็นผู้ที่ได้รับความยอมรับจากนักเรียน เพื่อนครู และบุคคลภายนอกว่าเป็นครูที่มีความรู้ ความสามารถ และมีศักยภาพอย่างแท้จริง
          จากบทความที่อ่านมีความคิดเห็นว่าเป็นบทความที่ดีอีกบทความหนึ่งที่คนเป็นครูจะต้องอ่านเพื่อนนำไปเติมเต็มความรู้และนำมาประยุกต์ใช้กับตัวเอง การเป็นครูนั้นมิได้เพียงแค่คำพูดเท่านั้นแต่ควรจะแสดงออกมาให้เห็นถึงจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู ความรัก ความเสียสละต่อส่วนรวม และความศรัทธาต่ออาชีพครู
4. ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
    4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
    4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
    4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
    4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
    4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
    4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร แสดงความคิดเห็น
          ตอบ  ตลอดระยะเวลาที่ที่เรียนวิชาการจัดการในชั้นเรียนมา เริ่มต้นจากการสร้างบล็อกเมื่อสร้างเสร็จ อาจารย์จะเป็นผู้สั่งและมอบหมายงานลงในบล๊อกดิฉันจึงทำกิจกรรมต่างๆตามที่อาจารย์กำหนด หาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่นหนังสือ อินเตอร์เน็ต ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนแล้วก็สรุปเป็นความคิดของตัวดิฉันเองจากนั้นก็อัปโหลดลงบล๊อกของดิฉัน
          ส่วนในเรื่องของโอกาสข้างหน้านั้นการเรียนรู้โดยการใช้บล๊อกจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างมากเพราะเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงได้เร็วราวกับจรวด จึงควรภูมิใจที่ได้เรียนวิชานี้ เรียนแบบนี้เพราะเป็นสิ่งที่ดีมากในความคิดของดิฉัน เป็นการเรียนรู้ที่ทันสมัยอีกทั้งในตอนนี้ต้องเตรียมตัวต้องรับประชาคมอาเซียนแล้วจึงจำเป็นอย่างมากและหากดิฉันจะไปเป็นครูก็คิดว่าคงจะมีสักครั้งที่ได้ใช้วิชาที่เรียนมาถ่ายทอดให้นักเรียนได้เรียนได้เรียนรู้หรืออาจจะประยุกต์ใช้กับการสอนในครั้งต่อไปเมื่อมีโอกาส
ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร
          ดิฉันควรจะได้ เกรดA ค่ะเพราะดิฉันเป็นคนที่ไม่เก่งทางด้านเทคโนโลยีเลยค่ะแต่มีความพยายามมากกว่าจะฝึกหัดด้วยความตั้งใจที่แน่วแน่ พยายามเรียนรู้จากสิ่งต่างๆรอบข้าง ในแต่ละครั้งที่ทำกิจกรรมดิฉันสรรหาคำที่ดีคำที่ถูกต้องมากใช้ให้ภาษาสละสลวย ดิเข้าเรียนเกือบทุกครั้งมีบ้างที่ลาเพราะป่วยและทำงานส่งตามกำหนดเกือบทุกครั้ง และในการทำบล๊อกแต่ละครั้งดิฉันจะพยายามทำด้วยตัวเองและสรุปเป็นของตัวเองให้ได้หรือในบางครั้งที่สรุปคล้ายกันเพราะเนื้อหาที่เรียนเหมือนกันและในบางครั้งก็ต้องปรึกษากับเพื่อนๆเพื่อนเพื่อให้เข้าใจตรงกันและเกิดการเรียนรู้ใหม่ๆขึ้นมา
         

    

         







วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 9



การจัดห้องเรียนที่ดี

          การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน   หมายถึง   การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวน  การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน การจัดการในห้องเรียนจึงมีความสำคัญมากดังนั้นการจัดห้องเรียนที่ดีจะต้องประกอบด้วย
      1. การจัดสภาพห้องเรียนต้องคำนึงถึงลักษระการเรียนการสอน และวิธีการสอน โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการใช้ นอกจากนี้การจัดห้องเรียนต้องคำนึงถึงบรรยากาศที่ต้องการให้เกิดขึ้น ในบางครั้งการจัดห้องเรียนควรจะได้คำนึงถึงความสะดวกและความยืดหยุ่นของการใช้งานด้วย ตลอดจนการ ป้ายนิเทศไว้ที่ฝาผนังของห้องเรียนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
  2. โต๊ะ เก้าอี้ ควรเป็นแบบที่เบาไม่เลอะเทอะ เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย หรือปรับปรุง ลักษณะภายในห้องเรียน และการจัดวางจะต้องอยู่ในลักษณะที่เหมาะสม ไม่สร้างปัญหาในระหว่างการเรียนการสอน เช่น การบังกัน เป็นต้น 
  3. เสียง จะต้องให้เกิดการได้ยินอย่างทั่วถึงและถ้าใช้เครื่องขยายเสียงจะต้องคำนึงถึงเสียงสะท้อนด้ว
      4. ไฟฟ้าและสว่าง แสงสว่างภายในห้องเรียน จะได้จากแสงธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟจะต้องมีความสว่างพอเหมาะ ควรจะได้มีการติดตั้งหลอดไฟในตำแหน่งที่เหมาะกับการใช้งาน ตลอดจนการติดตั้งปลั๊กไฟต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อสะดวกต่อการใช้งานและความปลอดภัย
      5. การระบายอากาศในห้องเรียน จำเป็นต้องมีการถ่ายเทอากาศได้ดี
      6. การใช้อุปกรณ์โสตทัศนศึกษา จะต้องจัดวางในที่เหมาะสมโดยคำนึงการกำหนดลักษณะการใช้งานและประสิทธิภาพของการใช้งาน
      7.ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข   มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง
สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น สร้างความเป็นกันเอง ให้นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข
              ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า สภาพห้องเรียนที่ดีที่จะสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้นั้น ควรจะต้องมีความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านแสงสว่าง การระบายอากาศ ความสะอาด ความปลอดภัย ตลอดจนความเหมาะสมกับจำนวนผู้เรียน การจัดสภาพห้องเรียนที่ดีไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งถาวร แต่ควรมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามความเหมาะสมกับวัยของนักเรียน ลักษณะของบทเรียน หรือกิจกรรมที่ครูนำมาใช้ประกอบบทเรียนเพื่อนให้การเรียนการสอนสอนดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
  



กิจกรรมที่ 8

ครูมืออาชีพ

                จากการอ่านตามหนังสือและตำราต่างๆพร้อมกับความคิด อุดมคติของดิฉันสามารถสรุปได้ดังนี้
                ครูมืออาชีพนั้นต้องมีความรู้อย่างแท้จริง มีความสามารถในเรื่องต่างๆ สามารถสอนนักเรียนให้เรียนรู้และเข้าใจกับบทเรียนนั้นๆสอนให้เกิดการเรียนรู้
เข้าใจ นำไปประยุกต์ใช้ได้จริงควบคู่กับการสอนเด็กให้เป็นคนดี โดยครูมืออาชีพ
ต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอและศรัทธาต่อวิชาชีพ ต้องมีความรักและศรัทธา
ต่อวิชาชีพครู เห็นว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ ในฐานะที่เป็นอาชีพที่สร้างคนให้มีความรู้ความสามารถ และเป็นคนที่พึงประสงค์ของสังคม ผู้อยู่ในวิชาชีพจะต้องมั่นใจ ในการประกอบวิชาชีพนี้ด้วยความรัก และชื่นชมในความสำคัญของวิชาชีพ
แนวคิดทางศาสนา มีลักษณะพื้นฐานในตน 3 ประการดังต่อไปนี้
1. ครูต้องมี ฉันทะ ต่ออาชีพครู เป็นพื้นฐาน
2. ครูต้องมีความเมตตา ต่อเด็กและบุคคลรอบข้างเป็นพื้นฐาน
3. ครูต้องมีความเป็น กัลยาณมิตร พร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ
                ครูมืออาชีพต้องมีคุณภาพการสอน สิ่งที่ครูมืออาชีพควรตระหนักเป็นอย่างยิ่งก็คือ "คุณภาพการสอน" ซึ่งเป็นความสามารถที่จะสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกคน ครูมืออาชีพ จึงต้องมีความสามารถต่อไปนี้
1. สามารถประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์ และการจัดระบบ ได้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้และความต้องการทางการศึกษาของผู้เรียน สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและสาระการเรียนรู้ที่สอน
2. สามารถติดตามการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ใช้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มและเป็นชั้น
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างอิสระ ฝึกการใช้ภาษา คาดหวังให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้
4. พัฒนาความสัมพันธ์เชิงจรรยาบรรณ บนพื้นฐานทักษะการสื่อสารที่ดีให้การยอมรับผู้เรียนทุกคน และคาดหวังจะได้รับการยอมรับจากผู้เรียน
5. มีความรู้ที่ทันสมัย และสนับสนุนข้อคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรอย่างกระตือรือร้น
6. เชื่อความสามารถในการเรียนของผู้เรียนทุกคน คาดหวังว่าผู้เรียนทุกคนเรียนรู้และส่งความคาดหวังนี้ไปยังแต่ละบุคคล โรงเรียนและชุมชน
7. กระตือรือร้นในการฝึกผู้เรียนเข้าสู่ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้เรื่องที่ผู้เรียนเห็นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของตน
8. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเชื่อมโยง เข้าใจความสัมพันธ์ทั้งภายในและระหว่างสาระการเรียนรู้
        นอกจากนี้ครูจะต้องมีความประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ด้วยคือ จรรยาบรรณต่อตนเอง ครูจะต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลาโดยมีการพัฒนาดังนี้
1.ประพฤติชอบ ครูต้องตั้งตนไว้ในที่ถูกที่ควรสามารถบังคับตนเองให้ประพฤติแต่สิ่งที่ดีงามถูกต้อง การแต่งการที่ถูต้องเหมาะสม
2.รับผิดชอบ ครูต้องฝึกความรับผิดชอบ โดยตั้งใจทำงานให้สำเร็จลุล่วง มีความผิดพลาดน้อย
3.มีเหตุผล ครูต้องฝึกถามคำถามตนเองบ่อย ๆ ฝึกความคิดวิเคราะห์หาเหตุหาผล หาข้อดีข้อเสียของตนเอง และเรื่องต่าง ๆ เพื่อทำให้ตนเองเป็นคนมีเหตุผลที่ดี
4.ใฝ่รู้ การติดตามข่าวสารข้อมูลอยู่เสมอ ๆ ทำให้ครูมีนิสัยใฝ่รู้ อยากทราบคำตอบในเรื่องต่าง ๆ ครูควรมีความรู้รอบตัวอย่างดีทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เพื่อให้ครูดำรงชีพในสังคมได้อย่างเป็นสุข ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ และชี้แนะสิ่งที่ถูกต้องให้ศิษย์ได้
5.รอบคอบ ครูต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนรอบคอบ ละเอียดและประณีต ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ การทำกิจกรรม เช่น ควบคุมบัญชีการเงินต้องรอบคอบ ต้องเห็นตัวเลขชัดเจนไม่ตกหล่น ทำให้เกิดการผิดพลาดที่เป็นผลร้ายทั้งของตนเองและผู้อื่น
6.ฝึกจิต การพัฒนาจิต ทำให้ครูอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและส่งผลทำให้ครูทำงานได้อย่างมีประสิทธิถาพมากขึ้นครูจึงต้องหมั่นฝึกจืตของตนให้สูงส่ง สูงกว่ามาตรฐาน ระงับอารมณ์ไม่ดี คิดอะไรได้สูงกว่ามาตรบานและคิดเป็นบวก มากกว่าคิดลบหรือคิดร้าย
7.สนใจศิษย์ การสนใจพัฒนาการของผู้เรียน เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้วิชาชีพครูก้าวหน้า เพราะถ้าไม่มีผู้เรียนก็ไม่มีวิชาชีพครู ครูจึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับลักษณะธรรมชาติผู้เรียน การแก้ปัญหาผู้เรียน การส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้


วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน
บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ
          1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
        สำหรับดิฉันเมื่อได้อ่านบทความนี้ทำให้รู้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่หาผู้ใดเปรียบมิได้ ทรงเป็นครูของแผ่นดิน เป็นครูของประชาชนชาวไทย พระองค์ทรงเป็นเทพที่มีอยู่จริงและช่วยปกป้องประชาชนของพระองค์ให้พ้นจากทุกร้อน
          พระองค์ทรงเป็นครูที่คิดค้นโครงการต่างๆมากมายจนไม่อาจจะกล่าวได้หมด  ทรงเป็นผู้คิดค้น ทอดลอง ปฏิบัติ และเป็นทรงทำเป็นตัวอย่างเป็นแนวทางให้ประชนที่พระองค์รัก พระองค์จึงเป็นครูที่เหนือครู ทรงทำให้รู้ว่าการสอนมิได้มีแต่ในตำราเท่านั้นแต่เป็นการสอนนอกห้องเรียนที่ทำให้ประชาชนได้เรียนรู้ เข้าใจ ปฏิบัติอย่างแจ่มแจ้งและเกิดผลประโยชน์ขึ้นจริงช่วยแก้ปํญหาความอดยากให้สามารถเลี้ยงต้นเองเองได้ด้วยความพอเพียง ดังคำว่าเศษฐกิจพอเพียง มิเพียงแต่แก้ปัญหาปากท้องและความลำปากเท่านั้นทรงเป็นครูที่ปลูกฟังให้ประชาชนมีคุณธรรมจริยธรรม ความเป็นคนดี ดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง นำเทคโนโลยีเข้ามาประประยุคต์ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้นและฝึกฝนตัวเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกพร้อมๆกับการดำเนินชีวิตอย่างพออยู่ พอกิน และพอเพียง
        2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
          ถ้าดิฉันเป็นครูผู้สอนดิฉันจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุตร์กับการเรียนการสอนคือ สอนให้นักเรียนเข้าใจอย่างท่องแท้ นักเรียนสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ได้ สิ่งที่สอนนั้นหากเป็นแนวเชิงปฏิบัติก็จะปฏิบัติให้นักเรียนเห็นเป็นตัวอย่างเพื่อจะทำให้นักเรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้นและสามารถนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันได้จริงซึ่งต้องสอนควบคู่ไปกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพราะแนวทางนี้สามารถประยุกต์ให้ได้กับทุกๆวิชา ในเรื่องการใช้สื่อ เทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนเช่นกัน สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือสอนในเรื่องของการเป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรมเพื่อนที่จะทำให้เห็นถึงความเป็นครูอย่างแท้จริง
        3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
          นอกจากการสอนในตำราเรียนและในห้องเรียนแล้วดิฉันจะสอนควบคู่กับแนวทางการปฏิบัติ โดยปฏิบัติให้นักเรียนดูเป็นแบบอย่าง แล้วให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ เพื่อจะได้เกิดความเข้าใจ สามารถนำไปประยุคต์ใช้ได้จริงจะสอนให้นักเรียนรู้จักใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดยกตัวอย่างเช่นหากดิฉันเป็นครูในอนาคตดิฉันจะสอนโดยใช้แบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยเริ่มจากการเตรียมตัวจากครูผู้สอนนั่นก็คือตัวดิฉันเองดังนี้
ดูจุดประสงค์รายวิชาที่เขียนไว้ตามมาตรฐานการศึกษาแล้วหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเรียบเรียงข้อมูล จากนั้นก็นำสิ่งที่จะสอนเด็กมาประยุกต์ให้เข้าบริบทของนักเรียนและพื้นที่ จากนั้นก็นำเสนอการสอนในรูปแบบต่างๆ เช่น สื่อการสอนที่เป็นเช่น PowerPoint ใบความรู้ ใบงานทดสอบ เป็นต้น มีการเล่าและการบรรยายร่วมด้วย ให้นักเรียนทำกิจกรรมและเสนอความคิดเห็น สรุปหน้าชั้นเรียน และสำคัญที่สุดคือทำแบบทดสอบทั้งปรนัย และอัตนัย
สำหรับแนวทางในการสอนเด็กนักเรียนของดิฉันก็มีดังนี้
·       สอนเรื่องพระพุทธศาสนา
·       แจกใบความรู้ให้เด็ก สอนบรรยายความรู้ไปพร้อมๆกับการเปิดสื่อกาสอนเช่น PowerPoint
·       แบ่งกลุ่มตามจำนวนที่สมควร(ขึ้นอยู่กับจำนวนเด็กในห้อง)แล้วให้ช่วยกันทำงาน จากนั้นทุกๆกลุ่มจะต้องส่งตัวแทนออกมาเสนอความรู้ของกลุ่มตัวเองให้เพื่อนกลุ่มอื่นฟัง และก็ทำอย่างนี้ทุกกลุ่ม
·       จากนั้นให้นักเรียนแต่ละคนทำแบบทดสอบทั้งปรนัยและอัตนัย และแลกเปลี่ยนกันตรวจสรุปคะแนน
·       สำหรับการบ้านจะเป็นงานเดี่ยวแบ่งตามหัวข้อของงานกลุ่มอีกที จากนั้นก็ทำเป็นรายงานเป็นรายบุคคลเพื่อนนำไปเป็นคะแนนช่วยสำหรับคะแนนกลุ่มที่บางกลุ่มยังได้ไม่ดีพอ
บทความที่ 3
วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบส์     THE STEVE JOBS WAY
    1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ           
            บนโลกแห่งโลกาภิวัตน์ใบนี้ เป็นสิ่งที่ผู้คนปฏิเสธไม่ได้ในเรื่องของเทคโนโลยี ซึ่งผู้ที่หลายคนยอมรับว่าเขามีบทบาทในเรื่องนี้คือ สตีฟ จ๊อบส์ สตีฟ จ๊อบส์ คือ มนุษย์ผู้หนึ่งที่มิได้มีมนต์วิเศษใดใดแต่เขาเป็นผู้ที่มีปัญญาสูง มีสมองที่ดีมาก มีความฉลาด ฉลาดในการวางแผน ฉลากในการเลือกเพื่อนร่วมงาน เขาสามารถผลิตเทคโนโลยีพลิกโลกให้เปลี่ยนไป ดังที่รู้ว่า เขาและทีมงานเป็นผูผลิต ไอแพด ไอพอด ไอโฟน และอื่นๆอีกมากมาย สิ่งเหล่านี้เกิดจากสมองและสองมือทั้งสิ้นจนอาจกล่าวได้ว่าอารยธรรมของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และทำให้ให้โลกก้าวทันเทคโนโลยีมากขึ้น
 1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา  แต่ละเขตพื้นที่ประกอบด้วย  3  คณะ
1.  คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา(กพท.) มีหน้าที่หลักในการดูแล ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ในลักษณะทั่วไป
2.  คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา(กตปน.) มีหน้าที่หลักในการดูแลงานเชิงวิชาการ งานประกันคุณภาพการศึกษา
3. อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา) มีหน้าที่หลักในการดูแลงานด้านการบริหารงานบุคคล   
            ปัจจุบันนี้เกิดปัญหาความต้องการทางเขตพื้นที่การศึกษาคือ การจัดการศึกษาในบางระดับที่มีการเรียนสูงขึ้น การออกระหว่างเรียนก็น้อยลง และก็มีการเรียนต่อสูงขึ้น จึงต้องมีการพัฒนาในเรื่องของสถานศึกษา และครูอาจารย์ให้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงทำให้แก้ไขปัญหาต่างๆในปัจจุบัน เช่นการว่างงาน ปัญหาสังคม เป็นต้น 
  2. ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร 
          ในวันหนึ่งดิฉันเป็นครูผู้สอนดิฉันจะนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ในการสอนคือ พัฒนาตนเองก่อนเป็นอันดับแรกให้มีความรู้และความสามาถทันต่อยุคสมัยตลอดจนพัฒนาผู้เรียน โดนเห็นผู้เรียนสำคัญที่สุด ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ และผู้ปกครอง โรงเรียน เพื่อนแก้ปัญหาต่างๆของโรงเรียนบนแนวทางแห่งเศษฐกิจพอเพียงในการสอนนั้นจะต้องทุ่มเทและถ่ายทอดให้เด็กนักเรียนของตนให้หมดไม่ควรเก็บไว้คนเดียว สอนด้วยจิตวิญญาณความเป็นครูอย่างแท้จริง ให้นักเรียนมีส่วนในการมีส่วนร่วมบ้างแสดงความสามารถของตัวเอง จะไม่ทอดทิ้งเด็กให้อยู่ด้านหลังและจะรักและให้คำปรึกษาเด็กหากมีปัญหา ผลักดันให้เด็กมีความรู้ที่ทัดเทียมกันสามารถเรียนร่วมกับเพื่อนร่วมห้องได้โดยไม่มีปัญหา
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร   
          ในอนาคตดิดิฉันจะเป็นครูผู้สอน และดิฉันจะนำแนวคิดของบทความนี้ไปใช้ในการออกแบบการสอนโดย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจ สามารถนำไปใช้ได้จริง ดิฉันจะนำมาประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น จะจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุดจะออกแบบการเรียนการสอนดังนี้
·       เช่นสอนเรื่องประวัติและวิวัฒนาการของการศึกษา หลังจากที่ได้เขียนจุดประสงค์รายวิชาแล้ว เตรียมข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนแล้ว ก็ออกแบบสื่อการสอนด้วยวิธีต่างๆ เช่น PowerPoint ใบความรู้ ใบประเมิน  เป็นต้น
·       หลังจากนั้นก็มีการสอนเด็ก โดยแจกใบความรู้ บรรยาย เปิด PowerPoint
·       จากนั้นให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม(ขึ้นอยู่กับจำนวนเด็กในห้อง) แบ่งหัวข้อให้เด็กทำรายงาน นำเสนอในรูแบบการรายงานและสื่อการสอนที่เป็นการจัดฟิวเจอร์บอร์ด จัดเป็นนิทรรศการภายในห้องแล้วให้กลุ่มต่างๆเข้างมาศึกษา
·       เมื่อจัดกิจกรรมเสร็จแล้วก็มีการให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มสรุปงานหน้าชั้นเรียนให้กลุ่มอื่นๆฟังจดครบทุกกลุ่ม
·       ทำการประเมินผลหน่วยย่อยด้วยการให้นักเรียนแต่ละคนทำแบบทดสอบทั้งปรนัยและอัตนัย
·       ครูจะเป็นผู้ตรวจและเก็บคะแนนหน่วยย่อยนั้นๆ
          จากที่ได้กล่าวมานั้นก็เป็นแบบวิธีการสอนที่ทำให้นักเรียนเกิดความรู้ได้โดยง่าย สร้างความสามัคคีในกลุ่ม สร้างความรับผิดชอบต่อตนเองและเพื่อนในกลุ่ม สร้างการมีกน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  สร้างความสนุกสนานในการเรียนการสอน บรรยากาศที่ดี และที่สำคัญคือนักเรียนได้ส้างสร้างองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากตัวเองและความรู้ที่จากเพื่อนมาหลอมเป็นองค์ความรู้ใหม่ของตัวเอง 
 

กิจกรรมที่ 7

ใบกิจกรรมที่ 7 โทรทัศน์ครู
1.สอนเรื่องอะไร  ผู้สอนชื่อ  ระดับชั้นที่สอน
สอนเรื่อง ป๊อปอัพ พุทธประวัติ
ผู้สอนคือ อ.อุทุมพร มุลพรม รร.วัดทุ่งมน  
ระดับชั้น ประถมศีกษาปีที่ 4
2 . เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
        เนื้อหาที่ใช้ในการสอนจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาพระพุทธศานาในหัวเรื่องพุทธประวัตินั้นเป็นสิ่งที่เด็กทุกวันนี้ไม่ค่อยสนใจเท่าที่ควาร จึงต้องประยุกต์ให้เนื้อหาในการเรียนให้มีความน่าสนใจขึ้น โดยการทำป๊อปอัพ ที่เป็นภาพ 3 มิติ มีสีสันสวยงามแปลกตาซึ่งการทำป๊อปอัพ เป็นการฝึกให้นักเรียนสร้างสื่อการสอนด้วยตนเอง ครูจะเอารูปแบบป๊อปอัพมาให้ดูเป็นตัวอย่าง และอธิบายถึงขั้นตอนการทำโดยครูก็จะไปหารูปภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติมาให้เด็ก ๆ คนละ 1 ภาพ ไม่ซ้ำกัน ครูจะสอนให้ทำ pop up เพราะเด็กโตสามารถใช้คัตเตอร์ กรรไกร อุปกรณ์มีคมได้แล้ว เด็ก ๆ ก็จะระบายสี ตกแต่งภาพตามจินตนาการ เสร็จแล้วให้แต่ละคนโชว์ภาพของตัวเองหน้าห้อง และออกมาเล่าให้เพื่อนๆฟังตามลำดับภาพที่ตัวเองได้ ขั้นตอนเป็นสิ่งที่ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องพุทธประวัติมากยิ่งขึ้น จากนั้นครูก็จะรวบรวมภาพของทุก ๆ คน นำมารวมกันเป็นเล่ม เป็นหนังสือเรียน เรื่อง พุทธประวัติ ที่เด็ก ๆ ทุกคนในห้องช่วยกันทำ 1 เล่ม เด็กจะภูมิใจมากและจะชอบไปเปิดดู เปิดอ่านอย่างภาคภูมิใจ และจะจดจำเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติได้ สามารถเล่าได้อย่างสนุกสนานและสามาถถ่ายทอดเรื่องราวให้ผู้อื่นได้รับฟัง เช่น เพื่อน พ่อ แม่ เป็นต้น
3 . จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
จากที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น เกิดประโยชน์ในด้านการจัดกิจกรรมดังนี้
สติปัญญา = IQ. ในขณะที่อ่านก่อนลงมือทำป๊อปอัพ ระบายสี และ ออกไปเล่าให้เพื่อนฟังหน้าห้องเรียนทำให้ตัวนักเรียนเองเกิดสติปัญญาและความรู้ในเรื่องนั้นๆ อีกทั้งเพื่อนๆก็ได้เรียนรู้ เข้าใจ และสามารถจดจำสิ่งที่เพื่อนๆได้เล่าให้ฟัง เกิดสติปัญญาให้การใช้เครื่องอย่างถูกต้องและขั้นตอนในการทำโดยการมีสติ อีกทังยังนำความรู้ที่ได้ลงมือทำป๊อปอัพไปประยุกต์ใช้ในวิชาอื่นๆ
อารมร์= EQ. ขณะช่วงระบายสีนั้นทำให้นักเรียนเกิดอารมณ์สุนทรี มีความคิดสร้างสรรค์ ถ่ายทอดออกมาทางศิลปะ รู้สึกผ่อนคลาย และสนุกสนาน
คุณธรรมจริยธรรม=MQ. ขณะลงมือปฏิบัติทำป๊อปอัพนักเรียนช่วยเหลือซึ่งกันและกันก่อเกิดเป็นความสามัคคี แบ่งปันอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำป๊อปอัพซึ่งหมายถึงการมีน้ำใจและการเป็นมิตรที่ดีต่อกัน
4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
                บรรยากาศในห้องเรียนจะเป็นแบบสบายๆในห้องเรียนสะอาด มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกมีหน้าต่างใช้ในการรับลม ตัวห้องเรียนมีสีสันสบายตา มีนาฬิกาใช้บอกเวลาในการเรียน มีรูปภาพต่างๆติดตามผนังห้องซึ่งรูปเล่านั้นสามารถสร้างความรู้ให้กับบนักเรียนได้อีกทาง มีชั้นหนังสืออยู่ภายในห้องเรียน   บรรยากาศจัดการในชั้นเรียนเป็นไปอย่างสนุกสนานเพลิดเพลินนักเรียนทุกคนสนุกมาก อีกทั้งยังได้ความรู้