วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน
บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ
          1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
        สำหรับดิฉันเมื่อได้อ่านบทความนี้ทำให้รู้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่หาผู้ใดเปรียบมิได้ ทรงเป็นครูของแผ่นดิน เป็นครูของประชาชนชาวไทย พระองค์ทรงเป็นเทพที่มีอยู่จริงและช่วยปกป้องประชาชนของพระองค์ให้พ้นจากทุกร้อน
          พระองค์ทรงเป็นครูที่คิดค้นโครงการต่างๆมากมายจนไม่อาจจะกล่าวได้หมด  ทรงเป็นผู้คิดค้น ทอดลอง ปฏิบัติ และเป็นทรงทำเป็นตัวอย่างเป็นแนวทางให้ประชนที่พระองค์รัก พระองค์จึงเป็นครูที่เหนือครู ทรงทำให้รู้ว่าการสอนมิได้มีแต่ในตำราเท่านั้นแต่เป็นการสอนนอกห้องเรียนที่ทำให้ประชาชนได้เรียนรู้ เข้าใจ ปฏิบัติอย่างแจ่มแจ้งและเกิดผลประโยชน์ขึ้นจริงช่วยแก้ปํญหาความอดยากให้สามารถเลี้ยงต้นเองเองได้ด้วยความพอเพียง ดังคำว่าเศษฐกิจพอเพียง มิเพียงแต่แก้ปัญหาปากท้องและความลำปากเท่านั้นทรงเป็นครูที่ปลูกฟังให้ประชาชนมีคุณธรรมจริยธรรม ความเป็นคนดี ดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง นำเทคโนโลยีเข้ามาประประยุคต์ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้นและฝึกฝนตัวเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกพร้อมๆกับการดำเนินชีวิตอย่างพออยู่ พอกิน และพอเพียง
        2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
          ถ้าดิฉันเป็นครูผู้สอนดิฉันจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุตร์กับการเรียนการสอนคือ สอนให้นักเรียนเข้าใจอย่างท่องแท้ นักเรียนสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ได้ สิ่งที่สอนนั้นหากเป็นแนวเชิงปฏิบัติก็จะปฏิบัติให้นักเรียนเห็นเป็นตัวอย่างเพื่อจะทำให้นักเรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้นและสามารถนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันได้จริงซึ่งต้องสอนควบคู่ไปกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพราะแนวทางนี้สามารถประยุกต์ให้ได้กับทุกๆวิชา ในเรื่องการใช้สื่อ เทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนเช่นกัน สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือสอนในเรื่องของการเป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรมเพื่อนที่จะทำให้เห็นถึงความเป็นครูอย่างแท้จริง
        3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
          นอกจากการสอนในตำราเรียนและในห้องเรียนแล้วดิฉันจะสอนควบคู่กับแนวทางการปฏิบัติ โดยปฏิบัติให้นักเรียนดูเป็นแบบอย่าง แล้วให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ เพื่อจะได้เกิดความเข้าใจ สามารถนำไปประยุคต์ใช้ได้จริงจะสอนให้นักเรียนรู้จักใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดยกตัวอย่างเช่นหากดิฉันเป็นครูในอนาคตดิฉันจะสอนโดยใช้แบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยเริ่มจากการเตรียมตัวจากครูผู้สอนนั่นก็คือตัวดิฉันเองดังนี้
ดูจุดประสงค์รายวิชาที่เขียนไว้ตามมาตรฐานการศึกษาแล้วหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเรียบเรียงข้อมูล จากนั้นก็นำสิ่งที่จะสอนเด็กมาประยุกต์ให้เข้าบริบทของนักเรียนและพื้นที่ จากนั้นก็นำเสนอการสอนในรูปแบบต่างๆ เช่น สื่อการสอนที่เป็นเช่น PowerPoint ใบความรู้ ใบงานทดสอบ เป็นต้น มีการเล่าและการบรรยายร่วมด้วย ให้นักเรียนทำกิจกรรมและเสนอความคิดเห็น สรุปหน้าชั้นเรียน และสำคัญที่สุดคือทำแบบทดสอบทั้งปรนัย และอัตนัย
สำหรับแนวทางในการสอนเด็กนักเรียนของดิฉันก็มีดังนี้
·       สอนเรื่องพระพุทธศาสนา
·       แจกใบความรู้ให้เด็ก สอนบรรยายความรู้ไปพร้อมๆกับการเปิดสื่อกาสอนเช่น PowerPoint
·       แบ่งกลุ่มตามจำนวนที่สมควร(ขึ้นอยู่กับจำนวนเด็กในห้อง)แล้วให้ช่วยกันทำงาน จากนั้นทุกๆกลุ่มจะต้องส่งตัวแทนออกมาเสนอความรู้ของกลุ่มตัวเองให้เพื่อนกลุ่มอื่นฟัง และก็ทำอย่างนี้ทุกกลุ่ม
·       จากนั้นให้นักเรียนแต่ละคนทำแบบทดสอบทั้งปรนัยและอัตนัย และแลกเปลี่ยนกันตรวจสรุปคะแนน
·       สำหรับการบ้านจะเป็นงานเดี่ยวแบ่งตามหัวข้อของงานกลุ่มอีกที จากนั้นก็ทำเป็นรายงานเป็นรายบุคคลเพื่อนนำไปเป็นคะแนนช่วยสำหรับคะแนนกลุ่มที่บางกลุ่มยังได้ไม่ดีพอ
บทความที่ 3
วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบส์     THE STEVE JOBS WAY
    1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ           
            บนโลกแห่งโลกาภิวัตน์ใบนี้ เป็นสิ่งที่ผู้คนปฏิเสธไม่ได้ในเรื่องของเทคโนโลยี ซึ่งผู้ที่หลายคนยอมรับว่าเขามีบทบาทในเรื่องนี้คือ สตีฟ จ๊อบส์ สตีฟ จ๊อบส์ คือ มนุษย์ผู้หนึ่งที่มิได้มีมนต์วิเศษใดใดแต่เขาเป็นผู้ที่มีปัญญาสูง มีสมองที่ดีมาก มีความฉลาด ฉลาดในการวางแผน ฉลากในการเลือกเพื่อนร่วมงาน เขาสามารถผลิตเทคโนโลยีพลิกโลกให้เปลี่ยนไป ดังที่รู้ว่า เขาและทีมงานเป็นผูผลิต ไอแพด ไอพอด ไอโฟน และอื่นๆอีกมากมาย สิ่งเหล่านี้เกิดจากสมองและสองมือทั้งสิ้นจนอาจกล่าวได้ว่าอารยธรรมของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และทำให้ให้โลกก้าวทันเทคโนโลยีมากขึ้น
 1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา  แต่ละเขตพื้นที่ประกอบด้วย  3  คณะ
1.  คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา(กพท.) มีหน้าที่หลักในการดูแล ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ในลักษณะทั่วไป
2.  คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา(กตปน.) มีหน้าที่หลักในการดูแลงานเชิงวิชาการ งานประกันคุณภาพการศึกษา
3. อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา) มีหน้าที่หลักในการดูแลงานด้านการบริหารงานบุคคล   
            ปัจจุบันนี้เกิดปัญหาความต้องการทางเขตพื้นที่การศึกษาคือ การจัดการศึกษาในบางระดับที่มีการเรียนสูงขึ้น การออกระหว่างเรียนก็น้อยลง และก็มีการเรียนต่อสูงขึ้น จึงต้องมีการพัฒนาในเรื่องของสถานศึกษา และครูอาจารย์ให้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงทำให้แก้ไขปัญหาต่างๆในปัจจุบัน เช่นการว่างงาน ปัญหาสังคม เป็นต้น 
  2. ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร 
          ในวันหนึ่งดิฉันเป็นครูผู้สอนดิฉันจะนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ในการสอนคือ พัฒนาตนเองก่อนเป็นอันดับแรกให้มีความรู้และความสามาถทันต่อยุคสมัยตลอดจนพัฒนาผู้เรียน โดนเห็นผู้เรียนสำคัญที่สุด ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ และผู้ปกครอง โรงเรียน เพื่อนแก้ปัญหาต่างๆของโรงเรียนบนแนวทางแห่งเศษฐกิจพอเพียงในการสอนนั้นจะต้องทุ่มเทและถ่ายทอดให้เด็กนักเรียนของตนให้หมดไม่ควรเก็บไว้คนเดียว สอนด้วยจิตวิญญาณความเป็นครูอย่างแท้จริง ให้นักเรียนมีส่วนในการมีส่วนร่วมบ้างแสดงความสามารถของตัวเอง จะไม่ทอดทิ้งเด็กให้อยู่ด้านหลังและจะรักและให้คำปรึกษาเด็กหากมีปัญหา ผลักดันให้เด็กมีความรู้ที่ทัดเทียมกันสามารถเรียนร่วมกับเพื่อนร่วมห้องได้โดยไม่มีปัญหา
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร   
          ในอนาคตดิดิฉันจะเป็นครูผู้สอน และดิฉันจะนำแนวคิดของบทความนี้ไปใช้ในการออกแบบการสอนโดย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจ สามารถนำไปใช้ได้จริง ดิฉันจะนำมาประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น จะจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุดจะออกแบบการเรียนการสอนดังนี้
·       เช่นสอนเรื่องประวัติและวิวัฒนาการของการศึกษา หลังจากที่ได้เขียนจุดประสงค์รายวิชาแล้ว เตรียมข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนแล้ว ก็ออกแบบสื่อการสอนด้วยวิธีต่างๆ เช่น PowerPoint ใบความรู้ ใบประเมิน  เป็นต้น
·       หลังจากนั้นก็มีการสอนเด็ก โดยแจกใบความรู้ บรรยาย เปิด PowerPoint
·       จากนั้นให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม(ขึ้นอยู่กับจำนวนเด็กในห้อง) แบ่งหัวข้อให้เด็กทำรายงาน นำเสนอในรูแบบการรายงานและสื่อการสอนที่เป็นการจัดฟิวเจอร์บอร์ด จัดเป็นนิทรรศการภายในห้องแล้วให้กลุ่มต่างๆเข้างมาศึกษา
·       เมื่อจัดกิจกรรมเสร็จแล้วก็มีการให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มสรุปงานหน้าชั้นเรียนให้กลุ่มอื่นๆฟังจดครบทุกกลุ่ม
·       ทำการประเมินผลหน่วยย่อยด้วยการให้นักเรียนแต่ละคนทำแบบทดสอบทั้งปรนัยและอัตนัย
·       ครูจะเป็นผู้ตรวจและเก็บคะแนนหน่วยย่อยนั้นๆ
          จากที่ได้กล่าวมานั้นก็เป็นแบบวิธีการสอนที่ทำให้นักเรียนเกิดความรู้ได้โดยง่าย สร้างความสามัคคีในกลุ่ม สร้างความรับผิดชอบต่อตนเองและเพื่อนในกลุ่ม สร้างการมีกน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  สร้างความสนุกสนานในการเรียนการสอน บรรยากาศที่ดี และที่สำคัญคือนักเรียนได้ส้างสร้างองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากตัวเองและความรู้ที่จากเพื่อนมาหลอมเป็นองค์ความรู้ใหม่ของตัวเอง 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น