วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2



ทฤษฎีการบริหารการศึกษา

            มาสโลว์ เป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษย์นิยม เขาได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ เขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้น แรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการ พฤติกรรมของคนเรามุ่งไปสู่การตอบสนองความพอใจ มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่
1.ความต้องการทางกายภาพ หมายถึงความต้องการพื้นฐานของร่างกาย
 2.ความต้องการความปลอดภัย หมายถึง ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
3. ความต้องการทางสังคม หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของ
 4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียงหมายถึง ความปรารถนาที่จะมองตนเองมีคุณค่าสูง    
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต   
              แมคเกรเกอร์  เป็นทฤษฎีที่เรียกได้ว่าเป็นทฤษฎีการมองต่างมุม ในความเป็นจริงของคนทุกคนไม่มีใครจะร้ายอย่างบริสุทธิ์ คือไม่มีข้อดีเลย คงไม่มี และในทางกลับกัน ก็คงไม่มีใครที่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีข้อด่างพร้อยเลย ก็คงไม่มีอีกเช่นกัน แต่ไม่ใช่ว่าพอเราจะได้ผลประโยชน์จากใครก็มองเขาดีไปหมด ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงเขาจะไม่ดีไปเสียทุกอย่างแต่พอได้ผลประโยชน์ไปแล้วหรือเป็นคนที่ไม่มีผลประโยชน์สำหรับเราแล้ว ทุกอย่างก็ดูจะไม่ดีไปเสียทั้งหมด ถึงแม้ว่าที่จริงแล้วเขาก็ไม่ใช่คนที่เลวร้ายนัก  เป็นผู้เรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงมุมมองตามทฤษฎี X ไปมุมมองตามทฤษฎี Y ทฤษฎีX มองว่าพนักงานเกียจคร้าน แต่มุมมองYมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ
          วิลเลี่ยม โอชิ ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีลูกผสมระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกัน วิลเลียมโอชิ ซึ่งเป็นชาวซามูไร เป็นคนคิดขึ้นมา ได้ศึกษาการจัดการของโลก 2 ค่ายคือค่ายอเมริกันและค่ายญี่ปุ่นศึกษาจุดเด่นของการบริหารว่าก่อนจะเข้าใจทฤษฎี Zต้องเข้าใจทฤษฎีAและJก่อน
 ทฤษฎี A คือ การบริหารจัดการ ต้องอาศัยการจัดการพื้นฐานของบุคคล ของผู้บริหารที่เกิดขึ้นในอดีต     ทฤษฎีJ  คือ การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่นคือมีการเลื่อนตำแหน่งมีความผูกกันวิลเลี่ยม โอชิ  เป็นเจ้าของทฤษฎี Z  นำทฤษฎี 2 ทฤษฎีมาวิเคราะห์ รวมเรียกว่าทฤษฎี 2 เป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ
          Henri Fayol  บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่  เป็นทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่ สนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ ประกอบด้วยกิจกรรม5อย่าง
1.การวางแผน
2.การจัดองค์การ
3.การบังคับบัญชา
4.การประสานงาน
5.การควบคุม
อังริ ฟาโยล มีหลักการจัดการ 14 ประการ
          1.การจัดแบ่งงานการจัดแบ่งหน้าที่ตามความสามารถ หรือความเชี่ยวชาญพิเศษของแต่ละคน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
          2.การมีอำนาจหน้าที่ผู้จัดการต้องสามารถออกคำสั่งได้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เมื่อนั้นความรับผิดชอบก็จะต้องติดตามไปด้วย
          3. ความมีวินัย ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือพนักงานต้องเชื่อฟัง และเคารพกฏเกณฑ์ขององค์การ
          4. เอกภาพของสายบังคับบัญชาพนักงานหรือลูกจ้างทุกคนจะได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว สายบังคับบัญชาจะมีลักษณะเป็นทอดๆไป แต่ละคนจะรู้ว่าใครคือเจ้านายของตน
         5. เอกภาพในทิศทาง แต่ละคนในกลุ่มกิจกรรมขององค์การจะมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน รับแผนเดียว และจากหัวหน้าเดียว
          6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วน
        7.มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม   องค์การก็จะต้องทำหน้าที่จัดระบบค่าตอบแทนให้เหมาะสมแก่ความสามารถและเป็นไปอย่างยุติธรรม
          8. ระบบการรวมศูนย์
          9. สายบังคับบัญชา หมายถึงสายบังคับบัญชาจากระดับสูงลงมาสู่ระดับ
         10.ความเป็นระบบระเบียบ หมายความถึง คนก็ดี หรือวัสุดอุปกรณ์ทั้งหลายก็ดี จะอยู่ในที่อันเหมาะสมในเวลาอันเหมาะสม
   11.ความเท่าเทียมกัน ผู้เป็นหัวหน้าจะต้องมีการตอบสนองต่อผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างมีเมตตา และยุติธรรม
          12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร
          13. การริเริ่มสร้างสรรค์ ผู้ใต้บังคับบัญชาจะสามารถมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะทำงานออกมาได้ในระดับที่สูง
          14. วิญญาณแห่งหมู่คณะการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน มีความราบรื่น และความเป็นปึกแผ่นใน
            แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy เขาเห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสมได้สรุปแนวคิด6ประการดังนี้คือ
 1.องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ
2.องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
3.ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ
4.องค์การต้องมีระเบียบและกฏเกณฑ์
5.ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
6.การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ
        Luther Gulick ให้ความสำคัญการควบคุม การที่การประสานงาน จะต้องสร้างขอบข่ายการควบคุมให้มีประสิทธิภาพ
เฮร์ซเบอริกได้สรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์ประกอบด้วย2ปัจจัยคือ
1.ปัจจัยภายนอก
2.ปัจจัยภายใน
เทย์เลอร์ได้พัฒนาวิธีการจ่ายค่าจ้างต่อหน่วยแบบสองระดับ
        Ganttป็นผู้มีชื่อเสียงในด้านการนำกราฟมาเป็นสื่อในการอธิบายการวางแผนการจัดการ
Frank B. & Lillian M. Gilbreths เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง และความไม่มีประสิทธิภาพ

          บทที่ 1 มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
·       การบริหารการศึกษา  หมายถึง  กิจกรรมต่างๆ  ที่ร่วมกันดำเนินการ   เพื่อพัฒนาในทุกด้านถือเป็นวิชาชีพชั้นสูง 
·       การบริหาร  เริ่มใช้เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายโดยกลุ่มนักรัฐศาสตร์Cameralists ให้คำจำกัดความ  การบริหาร  หมายถึง  การจัดการหรือควบคุมกิจการต่างๆ  ของรัฐ
·       อเมริกันที่เรียกว่า  Federalist  ให้ความหมาย  การบริหาร คือ  การบริหารของรัฐหรือการบริหารตามแนวรัฐศาสตร์
·       ปรัชญาของการบริหารการศึกษามีอยู่  13 

          บทที่  2 วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆและการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
          วิวัฒนาการเน้นพฤติกรรมองค์การและเรื่องของมนุษยสัมพันธ์  ส่วนวิวัฒนาการด้านธุรกิจในระบบมีการใช้วิธีฝึกจากการทำงานการจัดการ นอกจากการใช้  ระเบียบวินัยในการทำงานยุคของยุคของนักทฤษฎีการบริหาร จะแบ่งได้ดังนี้
·       ยุคที่ 1  นักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิม การประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
·        ยุคที่ 2  ยุค  Human  Relation  Era  ทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์ การประยุกต์ใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์ในการบริหารการศึกษา
·       ยุคที่ 3  ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริการ การประยุกต์ใช้พฤติกรรมศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
     
          บทที่   งานบริหารการศึกษา
·       การผลิต  หมายถึง  กิจกรรมพิเศษหรืองานที่ทางองค์การได้จัดตั้งขึ้นในทางการศึกษา
·       การประกันถึงการใช้ผลผลิตจากประชาชน  หมายถึง  กิจกรรมและผลผลิตของการดำเนินงาน
·       การเงินและการบัญชี  หมายถึง  การรับและการจ่ายเงินในการลงทุนในกิจกรรมขององค์การ
·       บุคลากร  คือ  การกำหนดรอบและการดำเนินการของนโยบาย
·       การประสานงาน  คือ  เป็นกิจกรรมที่สำคัญของการบริหารการศึกษา

บทที่  4 กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
          การบริหารการศึกษาเป็นหน้าที่หนึ่งของรัฐบาลในการบริหารประเทศ  เป็นการบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน  ที่เรียกว่าการบริหารการศึกษาสิ่งที่ทำให้การบริหารการศึกษา  หลักการจัดการศึกษาในโรงเรียนมี ดังนี้
1.การจัดระบบสังคม
2.เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการศึกษา
          หลักการจัดระบบการศึกษา  ไม่ว่าระดับชาติ  ระดับท้องถิ่น  ระดับโรงเรียน คือจะต้องรู้จักเด็กทุกคน  โดยยึดหลักความเสมอภาคและเหมาะสมกับปรัชญามีการส่งเสริมกิจกรรมให้สอดคล้องกับการปกครองในการบริหารงานในชั้นเรียนอย่างเท่าเทียมกัน โดยใช้กระบวนการบริหารการศึกษา  เป็นความคิดรวบยอดทั้งยังจัดระบบการศึกษา ให้เป็นไปตามกระบวนการศึกษาของโรงเรียน

บทที่  5 องค์การและการจัดองค์การ
          องค์การ คือ การรวมตัวของคน 2 คนขึ้นไป มีจุดมุ่งหมายร่วมกันหรือหมายถึง
ส่วนประกอบที่เกิดจากระบบย่อยหลายระบบที่มีปฏิสัมพันธ์ กันภายใต้สิ่งแวดล้อมหรือระบบใหญ่
องค์การแบ่งออกเป็น  3  ลักษณะใหญ่ๆคือ
1. องค์การทางสังคม
2. องค์การทางราชการ
3. องค์การเอกชน
แนวคิดในการจัดองค์การ
1.  แนวคิดในการจัดองค์การมาจากพื้นฐานการดำเนินงานขององค์การที่ภารกิจมาก
2.  แนวคิดในการจัดองค์การยังต้องคำนึงถึง  ผู้ปฏิบัติงาน
3.  แนวในการจัดการองค์การ  จะต้องกล่าวผู้บริหารควบคู่กันไป

องค์ประกอบในการจัดองค์การ
 1.  หน้าที่การงานเป็นภารกิจ
2.  การแบ่งงานกันทำ
3.  การรวมและการกระจายอำนาจในการจัดการองค์การ

บทที่ 6 การติดต่อสื่อสาร
          การติดต่อสื่อสาร (Communication)  หมายถึง  การส่งข้อมูลข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง หรือหลายคน เพื่อให้เข้าใจความหมายของข้อมูลข่าวสารที่ผู้ส่งส่งไป และเกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
ช่องทางการติดต่อสื่อสารมี 2 ช่อทาง คือ การติดต่อสื่อสารทางเดียว และการติดต่อสื่อสารสองทาง 
          องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสาร ได้แก่ ผู้ส่ง ผู้เริ่มต้นของการเผยแพร่ข่าวสาร การใส่รหัส ขบวนการแปลความหมาย ข่าวสาร ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการใส่รหัสข่าวสารที่ส่งไปให้ผู้รับต้องอาศัย สื่อ ผู้รับ บุคคลที่ต้องการให้ข่าวสารเปลี่ยนมือ

บทที่ 7 ภาวะผู้นำ     
        ผู้นำ  หมายถึง ความสามารถในการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงได้ โดยมีผู้นำเป็นผู้สร้างวิสัยทัศน์ให้เป็น ตัวกำกับ ทิศทาง ขององค์การในอนาคต    
        ภาวะผู้นำ หมายถึงการเป็นผู้นำที่ใช้อิทธิพลในการดำเนินงาน ในความสัมพันธ์ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานการณ์ต่างๆเพื่อปฏิบัติการและอำนวยการ โดยใช้กระบวนการติดต่อชึ่งกันและกัน
          ลักษณะภาวะผู้นำ ได้แก่
1. ผู้นำเป็นกระบวนการ
2. มีระดับความถูกต้องของการใช้อิทธิพล
 3.มีความสำเร็จของจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

บทที่ 8 การประสานงาน
        การประสานงาน คือการจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆร่วมมือปฎิบัติงาน เพื่อให้งานดำเนินสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบายมุ่งหมายในการประสานงานช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อจัดความซ้ำซ้อนกันของการทำงานระหว่างเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงาน
แนวทางการทำงานให้เกิด "การผสมงานผสานใจ"
1. มีการประสานความคิดโดยที่ทุกฝ่ายต้องมีความเข้าใจนโยบายและวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน
2. มีการประสานแผนงาน ทุกฝ่ายต้องมีความเข้าใจในกรอบนโยบายของแต่ละหน่วยงาน
3. มีการประสานด้านการเงิน วัสดุอุปกรณ์
4. มีการประสานคน ผู้ที่จะทำงานร่วมกันต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ต้องรู้จักใช้เทคนิคการจูงใจให้เกิดการยอมรับในการทำงานร่วมกัน
5. ระบบการติดต่อสื่อสารต้องมีประสิทธิภาพ
6. มีการจัดองค์การให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับองค์การของหน่วยงานอื่น

บทที่ 9 การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
          การ ตัดสินใจคือ การชั่งใจไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อให้การดำเนินงานไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่วนการวินิจฉัยสั่งการคือ การสั่งงานหรือการพิจารณาตกลงชี้ขาดจากทางเลือก หลักการในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ บางครั้งตัดสินใจถูกแต่การสั่งงานผิดพลาดอาจทำให้เกิดผลเสียหายแก่งาน  ลักษณะการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหารที่ดี มีหลักเกณฑ์ดังนี้ ระยะเวลาที่เหมาะสม ความแน่นอน ความรู้ความสามารถของผู้บริหาร ประสบการณ์ในการทำงาน ทัศนคติ บุคลิกภาพที่มีอิทธิพล ความลำเอียงส่วนบุคคล ความโดดเดี่ยว ประสบการณ์ การรู้โดยความรู้สึก และการแสวงหาคำแนะนำ

บทที่ 10 ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน
          ผู้บริหารโรงเรียน ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายงานให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาหรืออำนวยการต่างๆ  จะมีหลายด้าน ดังนี้
  1.การบริหารงานวิชาการ เป็นหัวใจของการบริหารในโรงเรียน ลักษณะสำคัญของงานวิชาการจะเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน และผู้บริหารจะต้องรับรู้ รับผิดชอบ ควบคุมดูแลในการดำเนินการวางแผน 
 2.การบริหารบุคคล คือการจัดงานเกี่ยวกับคนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมให้กำลังใจผู้ปฎิบัติให้ทำงานอย่างมีปะสิทธิภาพ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น